ประเภทของข้อมูล

    แบ่งตามลักษณะการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
        1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่สามารถนำ ไปคำนวณได้ ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
            ก. เลขจำนวนเต็ม หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
            ข. เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12 หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้ เช่น 12.763
                เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้ 2 รูปแบบคือ
                    ก. แบบที่ใช้กันทั่วไป เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34
                    ข. แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์ เช่น
                        123. x 104          หมายถึง  1230000.0

                        – 1764.0 x 102    หมายถึง   -176400.0
                        – 1764.10-2         หมายถึง  -17.64
        2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจเป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใดๆ เช่น COMPUTER, ON-LINE, 1711101, &76     

 

 แบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล  จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
 1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรง  ซึ่งอาจจะได้จากการสอบถามการสัมภาษณ์ การสำรวจและการจดบันทึกตลอดจนการจัดหามาด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่งเครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
  2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้วบางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เช่น สถิติจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น 

ใส่ความเห็น